การลงยา มาจากไหน?
แรกเริ่มเดิมที ในสมัยโบราณ สกุลช่างทองราชสำนักฯ จะสร้างชิ้นงานเครื่องราชูปโภคต่างๆ ของพระมหากษัตริย์และเจ้านายชั้นสูงด้วยกรรมวิธีลงยา ซึ่งมีสีสันตระการตา กว่าเครื่องทองตอกหมุดฉลุลายแบบดั้งเดิม ซึ่งกรรมวิธีการลงยาสีของไทยนั้น ชาวเปอร์เซียเป็นผู้นำเข้ามาเผยแพร่ตั้งแต่สมัยอยุธยา จึงนิยมในหมู่ข้าราชการและราชสำนัก แต่มีสีไม่มากเท่าในปัจจุบัน
ในสมัยรัตนโกสินทร์การทำเครื่องลงยาสีได้รับความนิยมมาก จะเห็นได้จากเครื่องราชูปโภคและราโชปโภคที่สร้างขึ้นในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก จะนิยมทำด้วยเครื่องลงยาราชาวดี เช่น พระมหาพิชัยมงกุฎ ซึ่งทำด้วยทองคำลงยาประดับเพชร พานพระขันหมากใหญ่ และพระโกฏิอัฐิสมเด็จพระปฐมบรมชนก ซึ่งจะเป็นงานลงยาราชาวดี การทำเครื่องลงยามีความรุ่งเรืองถึงขีดสุดในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4โดยมีพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมขุนวรจักรธรานุภาพทรงเป็นผู้กำกับการช่างแขนงนี้ด้วยพระองค์เอง ต่อมาเครื่องราชูปโภคและราโชปโภค รวมทั้งเครื่องประกอบยศของเจ้านายตลอดจนขุนนางต่าง ๆ รวมถึงเครื่องประกอบสมณศักดิ์พระภิกษุสงฆ์ ล้วนเป็นเครื่องลงยาราชาวดีแทบทั้งสิ้น
การลงยา คืออะไร?
การลงยา คือ การใช้สี หรือน้ำยาสารเคมีใส่ลงในพื้นที่เป็นร่องระหว่างลวดลายในกรอบเงิน แล้วใช้ความร้อนอบให้น้ำยาติดและให้พื้นเป็นสีต่างๆ โดยมีสีสันแต่งแต้มให้เกิดความสวยงาม ซึ่งเป็นหนึ่งในวิธีการตกแต่งสิ่งของ เครื่องใช้ เครื่องประดับ และกรอบเงินอีกด้วย ทองลงยาจะมีน้ำหนักทองน้อยกว่าทองรูปพรรณปกติ เนื่องจากมีการแต่งแต้มสีหรือลงยาบนเครื่องประดับทอง จึงทำให้น้ำหนักรวมของสิ่งของ เครื่องใช้ เครื่องประดับ และกรอบเงินนั้นเพิ่มขึ้น และมีราคาสูง เพราะมีความละเอียดของลวดลาย
การลงยามีอยู่ 2 ประเภท
- การลงยาร้อน จะมีลักษณะที่เป็นก้อนเล็ก ๆ ก่อนใช้ต้องนำไปบดให้เป็นผง แตะน้ำเล็กน้อย แล้วแต่งแต้มลงบนลวดลายของเครื่องประดับทอง จากนั้นใช้ไฟเป่า เพื่อให้สีละลายติดกับทอง
- การลงยาเย็น จะมาจากเซรามิคชนิดหนึ่ง มีลักษณะเหมือนสีน้ำทั่วไป วิธีการทำจะแต่งแต้มน้ำยาลงไปในบริเวณที่ต้องการลงยา แล้วอบด้วย UV ให้แห้งก็เสร็จเรียบร้อย
ความแตกต่างระหว่างการลงยาร้อนและการลงยาเย็น คือ การลงยาร้อนจะมีวิธีการหรือขั้นตอนในการทำที่ยุ่งยากซับซ้อนอยู่เล็กน้อย และมีความคงทนมากกว่าการลงยาเย็น จึงทำให้การลงยาที่สิ่งของ เครื่องใช้ เครื่องประดับ และกรอบเงิน โดยส่วนใหญ่จะนิยมลงยาร้อนมากกว่าลงยาเย็น
Where is the origin of enameling?
In the past, the royal goldsmith’s family created a piece of various consumables of the monarch and high-class masters by applying the enameling process.
The Persians brought the enameling process to Siam (Thailand) during the Ayuttaya period. It was popular only among government officers and the royal court, but there were not many colors back then. In the Rattanakosin period, enameling became more popular among nobles and monks. It can be seen from the utensils and wares created during the reign of King Buddha Yodfa Chulalok.
What is enameling?
Enameling is the application of painting or filling color to the grooved areas between the patterns in the jewelry. Then use heat to bake the color to make them coagulate.
There are two types of enameling.
- The hot process uses a small lump, makes it ground into a powder, and mixes it with water. Fill the color on the area to be applied and blow with fire to make the color fit perfectly with the gold.
- The cold process comes from a type of ceramic color, it looks like normal watercolor. The method of making is to fill the color on the area to be applied and then wait to dry, and it’s done.